4 แนวทางผลักดันเศรษฐกิจประเทศโตแบบท้าทาย 6-8% ในปี 2565
ในเดือนกันยายนสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด -19 เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น กอปรกับการกระจายวัคซีนมีแนวโน้มที่ดีขึ้นมาก จำนวนผู้ติดเชื้อผ่านจุด peak ไปแล้ว จำนวนโรงพยาบาลสนามและกลไก Community และ Home Isolation โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมของกลุ่มจิตอาสาต่างๆ เริ่มทำงานได้ดีขึ้น จนนำไปสู่การผ่อนคลายการ Lock-down
ว่าทำอย่างไรเศรษฐกิจไทยจึงจะเติบโต 6-8%
ประการแรก ภาครัฐต้องส่งสัญญาณให้ทุกภาคส่วนมองเห็นเป้าหมายดังกล่าว ด้วยการเพิ่มกระสุนนโยบายการคลังโดยปรับเพิ่มเพดานหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจากเดิมที่ 60% เป็น 70-80% ซึ่งจะทำให้มีเม็ดเงินเข้ามาฟื้นฟูเศรษฐกิจอีกราว 0.7-1.5 ล้านล้านบาท ช่วยเสริมรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2565 ที่มีเม็ดเงินลดลงเกือบ 2 แสนล้านบาทเมื่อเทียบกับงบประมาณปี 2564
ประการที่สอง เร่งกระบวนการปฏิรูปกฎหมาย ทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาต ซึ่งจากการศึกษาของ TDRI พบว่ามีอยู่มากถึงราว 1,000 กระบวนงาน จาก 16 กระทรวง 47 กรม และที่น่าตกใจคือ 85% ของกระบวนการเหล่านั้นเกิดจากกฎ ระเบียบ ที่ไม่จำเป็น หรือล้าสมัย แม้จะมีการผลักดันอย่างต่อเนื่อง แต่ถึงปัจจุบันมีเพียง 200-300 กระบวนงานเท่านั้นที่หน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของกระบวนงานดำเนินการแก้ไขแล้วเสร็จ
ประการที่สาม สร้าง mindset ในการอยู่ร่วมกับโควิด-19 เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะอยู่ร่วมกับโควิด-19 ได้ด้วยวัคซีน และกล้าที่จะกลับมาใช้จ่ายและลงทุน ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง โดยในปี 2565 ภาครัฐควรสนับสนุนให้การท่องเที่ยวในประเทศเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่มีผลบวกต่อเศรษฐกิจและการจ้างงานสูง
ประการที่สี่ สนับสนุนให้ธุรกิจส่งออกเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจโลกที่ยังมีแนวโน้มเติบโตสูงอีกปี โดย IMF ประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะยังเติบโตได้ 4.9% ในปี 2565 ขณะที่ปริมาณการค้าโลกเติบโตได้ถึง 7% ซึ่งสูงกว่าภาวะการค้าโลกปี 2561-62 ก่อนเกิดโควิด-19 ราว 3 เท่า การส่งออกของไทยจึงยังมีโอกาสเติบโต ซึ่งกกร. คาดว่าการส่งออกจะขยายตัว 12-14% ภายใต้เงื่อนไขที่รัฐให้การสนับสนุนภาคธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
อีกทั้ง ยังต้องติดตาม 3 สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอย่างใกล้ชิด คือ 1) ค่าระวางเรือที่ยังสูงต่อเนื่องซึ่งอาจทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ 2) การขาดแคลนชิปที่เป็นส่วนประกอบสำคัญของหลายสินค้าอุตสาหกรรม และ 3) เศรษฐกิจโลกที่ผันผวนเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มการปรับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯ
เชื่อมั่นว่าทำได้ เร่งระดมสรรพกำลังและทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ไปตรงจุด ตรงประเด็น ไม่ซ้ำซ้อน มีวินัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ การผลักดันแบบเล็งผลไปที่การเติบโต 6-8% ผสมผสานกับการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืนให้กับลูกหนี้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากโควิด-19 เชื่อว่าจะลดความบอบช้ำของทุกภาคส่วน สามารถอ่านเพิ่มได้ที่ tradestock24.com
ติดตามข่าวสารอื่นๆ >>> http://ufalek.net/